Header

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

มอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ผู้สูงอายุได้แล้ววันนี้ รีบพาผู้สูงอายุไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ เพื่อลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

 

ไข้หวัดใญ่หในผู้สูงอายุ ต่างจากไข้หวัดในคนทั่วไปอย่างไร ?

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไป อาจจะทำให้เป็นไข้ ไอ หรือปวดเมื่อตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ในเวลา 3-5 วัน

แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

และจากข้อมูลในประเทศไทยพบว่า กลุ่มที่มีอัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

 

สาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

  • ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสก็ตาม เพราะผู้สูงอายุนั้นจะมีโอกาสสูงที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย ในภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุล ก็จะเกิด “การอักเสบรุนแรง” (ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน) ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถจะยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวิตได้

  • โรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อปอดอักเสบ โรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

  • ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรคเมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะพบว่า 23% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี

 

ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้หรือไม่ ?

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปี เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้นซึ่งในแต่ละปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะสามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากอาการปอดอักเสบและจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย

[มามอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่ผู้สูงอายุได้แล้ววันนี้]

 

“ไข้หวัดใหญ่” ร้ายกว่าที่คิดในผู้สูงอายุอย่างไร

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า2

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดตีบที่หัวใจมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า2

  • 75% ของคนไข้เบาหวาน จะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ4

  • 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังจากเจ็บป่วยเพราะไข้หวัดใหญ่3

โปรดปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านท่านก่อนรับการฉีดวัคซีน

 

เอกสารอ้างอิง
1.Baggett HC. et al. PLoS One. 2012;7(11):e48609

2. Warren-Gash C, et al. Eur respir J. 2018

3. Andrew MK, et al. J Am Geriatr Soc. 2021.

4. Samson Sl, et al. J Diabetes Sci Technol. 2019

5. https://www.ecdc.europa.eu/en/seasonal-influenza/facts/factsheet

6. CDC. https://www.cdc.gov/flu/about/disease/65over.htm Accessed

May 31,2018

7. https://www.nfid.org/wp-content/uploads/2019/08/65-flu-fact-sheet.pdf

8.Gavazzi G. et al. The Lancet Infectious Diseases; 2002: 2(11), 659-666

9. Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg

HA/strain SMPC. 2. Diaz Granados CA, et al. N Engl J Med. 2014;371:635-645.

10. Lee J, et al. Vaccine. 2021

11. Oh SJ, Lee JK, Shin OS. Aging and the Immune System: the Impact of

Immunosenescence on Viral Infection, Immunity and Vaccine Immunogenicity. Immune

Netw. 2019 Nov 14;19(6):e37. doi: 10.4110/in.2019.19.e37. PMID: 31921467; PMCID: PMC694317

12.อมรรัตน์ จำเนียรทรง, ประเสริฐ สายเชื้อ, การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ,

Thammasat Medical Journal, Vol, 16 No. 2, April - June 2016 หน้n 285-296



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

อายุรกรรม

แผนกอายุรกรรมทั่วไป

สถานที่

โรงพยาบาลศิริเวช

เวลาทำการ

08:00 - 16:00 น.

เบอร์ติดต่อ

053-582-888

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์