Header

กินยาพาราอย่างไร ? ไม่ทำร้าย “ตับ”

ยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ยาพารา” จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีติดบ้านแทบทุกครัวเรือนเพื่อใช้ลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่เป็นอันตราย แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ผิดขนาด ผิดวิธี ก็สามารถก่อให้เกิดโทษและอันตรายต่อร่างกายได้

 

ยาพารา-รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สรรพคุณของ ยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดลดไข้ได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หาซื้อได้ง่าย และเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี เพราะไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ไม่ทำให้เลือดออกง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก หรือมีภาวะเลือดออกง่าย โดยสรรพคุณของ ยาพาราเซตามอล คือ

  1. ใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตัวร้อน
  2. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดทุกชนิด 

ไม่สามารถช่วยระงับอาการปวดระดับรุนแรงได้ เช่น อาการปวดจากแผลผ่าตัดใหญ่ หรือจากมะเร็ง
 

การใช้ยาพาราเซตามอล อย่างเหมาะสม และถูกต้อง

ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ส่วนการใช้ยาที่เหมาะสมคือ

  1. ควรกินห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
  2. สำหรับเด็ก: 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ไม่ควรกินเกิน 5 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  3. ผู้ใหญ่ : 500 มิลลิกรัม ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน (8เม็ด / วัน)
  4. ไม่กินยาร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. ใช้ยาเฉพาะเวลามีอาการ
     

หากกินยาพาราเซตามอลเกินขนาด จะก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  1. ท้องเสีย

  2. เหงื่อออกมากผิดปกติ

  3. เบื่ออาหาร

  4. คลื่นไส้ อาเจียน

  5. ปวดท้องอย่างรุนแรง

  6. ปวดบวมที่หน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ ยาพาราเซตามอล

แม้ว่าจะปลอดภัย แต่การใช้ยาพาราเซตามอล ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงที่เด่นชัดที่สุดคือ เป็นพิษต่อตับ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้มากเกินขนาด (มากกว่า 140 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) ก็อาจทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย และทำให้เป็นโรคตับวายเฉียบพลัน จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

หากกินยาพาราเซตามอลแล้วเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไป พบแพทย์ในทันที

  1. อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ

  2. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะน้อยลงโดยไม่มีสาเหตุ

  3. มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ

  4. ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง

  5. มีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง มีผื่นคัน

  6. มีแผลร้อนใน หรือ จุดขาว ๆ ขึ้นที่ริมฝีปาก หรือภายในช่องปาก

  7. เลือดออกผิดปกติ, เหนื่อยง่ายผิดปกติ

  8. ตาเหลือง ตัวเหลือง

 

กินยาพารา-รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

ยาพาราเซตามอลกับ คนท้อง และคุณแม่ให้นมลูก

ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุว่า พาราเซตามอล มีความเสี่ยงต่อคนท้อง อย่างชัดเจน แต่ถึงอย่างนั้น หากกำลังตั้งครรภ์อยู่ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก ยาพาราเซตามอลสามารถถูกขับออกทางน้ำนมได้ แต่แม้ว่าจะยังไม่มีการห้ามใช้ในสตรีที่กำลังให้นมบุตร หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรเหลีกเลี่ยง

 

การเก็บรักษายาพาราเซตามอล

  1. ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุเดิม ปิดให้สนิท และเก็บให้พ้นจากเด็ก และสัตว์เลี้ยงเสมอ
  2. ควรเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่ถูกแสงแดดและความร้อน ไม่เก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูงว่า 30 องศาเซลเซียส และไม่เก็บยาในบริเวณที่มีความชื้นสูง เพราะความร้อนและความชื้น อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้
  3. สำหรับยาน้ำ เมื่อใช้แล้วควรปิดขวดให้สนิท และเก็บอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส หลังเปิดขวดแล้ว สามารถใช้ยาต่อไปได้ไม่เกิน 3 เดือน หากยายังไม่เสื่อมสภาพ

หากพบว่ายาหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพแล้ว เช่น มีสีหรือกลิ่นเปลี่ยนไป เม็ดยาแตกหัก ควรทิ้งทันที

 

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่1: กินยาพาราได้บ่อยแค่ไหน

ตอบ: ไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน (8เม็ด / วัน)

 

คำถามที่2: ยาพาราช่วยให้นอนหลับไหม

ตอบ: นอกจะไม่ได้ช่วยให้นอนหลับแล้ว การกินยาพาราก็ไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังที่บริเวณหลังส่วนล่างด้วย

 

คำถามที่3: ยาพาราอยู่ในร่างกายกี่ชั่วโมง

ตอบ: ยาพาราออกฤทธิ์อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรกินเว้นระยะห่างกันประมาณ 4-6 ชั่วโมง

 

ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

อายุรกรรม

แผนกอายุรกรรมทั่วไป

สถานที่

โรงพยาบาลศิริเวช

เวลาทำการ

08:00 - 16:00 น.

เบอร์ติดต่อ

053-582-888

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์